การค้าระหว่างประเทศมณฑลซานตง ประจำปี 2564

การค้าระหว่างประเทศมณฑลซานตง ประจำปี 2564

วันที่นำเข้าข้อมูล 28 ม.ค. 2565

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 28 พ.ย. 2565

| 1,237 view

8835f4bdead725828c3e3e73a52cfd3

เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2565 สำนักงานศุลกากรมณฑลซานตง ได้เผยข้อมูลการค้าระหว่างประเทศของมณฑลซานตงประจำปี 2564 มีมูลค่าการนำเข้าและส่งออกรวม 2.93 ล้านล้านหยวน นับตั้งแต่ปี 2559 ถึงปี 2564 ซึ่งปีนี้นับเป็นปีที่ 6 ที่มณฑลซานตงสามารถทำสถิติมูลค่าการนำเข้าและส่งออกได้สูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 43.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 แบ่งเป็น (1) มูลค่าส่งออก 1.76 ล้านล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 58 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 (2) มูลค่านำเข้า 1.17 ล้านล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 29 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 ทั้งนี้ มูลค่าการนำเข้าและส่งออกของมณฑลซานตง มีอัตราส่วนร้อยละ 7.5 ของมูลค่าการนำเข้าและส่งออกทั้งหมดของจีน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2563 ซึ่งมีอัตราส่วนร้อยละ 6.9

สำหรับสถิติเฉพาะในเดือนธันวาคม 2564 มณฑลซานตงมีมูลค่าการนำเข้าและส่งออกรวม 279,900 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 19 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 แบ่งเป็น (1) มูลค่าส่งออก 184,130 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 66.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 (2) มูลค่านำเข้า 95,770 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 ทั้งนี้ ในปี 2564 มณฑลซานตงสามารถทุบสถิติมูลค่าการนำเข้าและส่งออกสินค้ารายเดือน โดยเพิ่มขึ้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์ 4 เดือนด้วยกัน ได้แก่ เดือนมิถุนายน เดือนกันยายน เดือนพฤศจิกายน และเดือนธันวาคม

มณฑลซานตงเป็นมณฑลที่มีความสำคัญในด้านการค้าระหว่างประเทศเป็นลำดับที่ 6 ของจีนรองจากมณฑลกวางตุ้ง มณฑลเจียงซู มณฑลเจ้อเจียง นครเซี่ยงไฮ้ และกรุงปักกิ่ง เป็นมณฑลอันดับ 1 ของจีนในการนำเข้าและส่งออกสินค้า มีอัตราการเติบโตทางการค้าระหว่างประเทศที่สูงที่สุดของจีน และมีอัตราการเติบโตของการนำเข้าสินค้าเป็นอันดับ 3 ของจีน

1. สถิติการค้าระหว่างประเทศของทั้ง 16 เมืองของมณฑลซานตง มีอัตราการขยายตัวเป็นเลข 2 หลักทั้งหมด

ในปี 2564 เมืองชิงต่าวยังคงครองอันดับ 1 ที่สามารถสร้างมูลค่าการนำเข้าและส่งออกได้มากที่สุดของมณฑลซานตง โดยสถิติของเมืองทุกเมืองในมณฑลเรียงตามลำดับ ดังนี้

ที่


 

เมือง


 

การนำเข้าและส่งออก

การส่งออก

การนำเข้า

มูลค่ารวม
(ล้านหยวน)

ขยายตัว
(ร้อยละ)

มูลค่ารวม
(ล้านหยวน)

ขยายตัว
(ร้อยละ)

มูลค่ารวม
(ล้านหยวน)

ขยายตัว
(ร้อยละ)

1

เมืองชิงต่าว

849,840

32.4

492,130

27

357,720

40.7

2

เมืองเยียนไถ

411,500

27.8

244,860

24.7

166,650

32.6

3

เมืองเหวยฟาง

265,700

39.4

186,170

53.2

79,530

15.2

4

เมืองเวยไห่

203,250

25.8

149,400

28.2

53,850

19.3

5

เมืองตงหยิง

201,190

44.6

55,500

22.8

145,680

55

6

นครจี่หนาน

194,420

40.1

117,410

55.6

77,010

21.5

7

เมืองหลินอี๋

176,680

51.4

158,480

59.8

18,200

3.8

8

เมืองจือปั๋ว

119,240

33.6

72,510

48.3

46,730

15.8

9

เมืองรื่อจ้าว

116,570

11.0

40,300

17.4

76,270

8

10

เมืองปินโจว

102,310

24.4

46,220

41.2

56,100

13.3

11

เมืองจี่หนิง

67,870

24.6

48,550

25.8

19,330

21.6

12

เมืองเหอเจ๋อ

56,820

30.1

28,230

31.8

28,590

28.5

13

เมืองเหลียวเฉิง

53,040

29.4

36,640

61.1

16,400

-10.1

14

เมืองเต๋อโจว

51,360

30.8

33,360

35

18,000

23.8

15

เมืองจ่าวจวง

31,510

20

29,200

16.9

2,310

80.1

16

เมืองไท่อัน

29,110

37.2

19,320

32.4

9,790

47.6

มณฑลซานตง

2,930,410

32.4

1,758,270

34.8

1,172,140

29

 

2. การนำเข้าและส่งออกสินค้าทุกประเภทของมณฑลซานตงเติบโตขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

ตลอดปี 2564 การนำเข้าและส่งออกสินค้าทั่วไปของมณฑลซานตงมีมูลค่ารวม 1.95 ล้านล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 คิดเป็นร้อยละ 66.5 ของมูลค่าการนำเข้าและส่งออกทั้งหมดของมณฑลซานตง เป็นสินค้าแปรรูป มูลค่ารวม 452,710 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 18 และสินค้าในคลังสินค้าทัณฑ์บน (Bonded Warehouse) มูลค่ารวม 406,760 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 56.5

ประเภทสินค้า มูลค่าการนำเข้าและส่งออกรวม
(ล้านหยวน)
สัดส่วนเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563
(คิดเป็นร้อยละ)

1. สินค้าทั่วไป

1,950,000

28.1

2. สินค้าแปรรูป

452,710

18

3. สินค้าในคลังสินค้าทัณฑ์บน

406,760

56.5

 

3. ตลาดการค้ามณฑลซานตงมีศักยภาพและพลวัตที่เด่นชัด โดยสัดส่วนการนำเข้าและส่งออกของวิสาหกิจเอกชนคิดเป็นร้อยละ 70 ของมูลค่าการนำเข้าและส่งออกทั้งหมดของมณฑลซานตง

ในปี 2564 การค้าระหว่างประเทศของมณฑลซานตงได้แสดงศักยภาพและพลวัตที่เด่นชัด ตลอดทั้งปีมีบริษัทที่ดำเนินกิจการเกี่ยวกับการนำเข้าและส่งออกสินค้าระหว่างประเทศรวม 61,000 บริษัท เพิ่มขึ้นจากปี 2563 จำนวน 4,946 บริษัท ประกอบด้วย 1) วิสาหกิจเอกชน มีมูลค่าการนำเข้าและส่งออกรวม 2.09 ล้านล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.6 คิดเป็นร้อยละ 71.2 ของมูลค่าการนำเข้าและส่งออกทั้งหมดของมณฑลซานตง 2) วิสาหกิจที่ลงทุนโดยนักลงทุนต่างชาติ มีมูลค่ารวม 587,510 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.3 และ 3) รัฐวิสาหกิจ มีมูลค่ารวม 252,420 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.3

ประเภทการลงทุน

มูลค่าการนำเข้าและส่งออกรวม 
(ล้านหยวน)

สัดส่วนเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 (คิดเป็นร้อยละ)

1. วิสาหกิจเอกชน

2,090,000

35.6

2. วิสาหกิจที่ลงทุนโดยนักลงทุนต่างชาติ

587,510

20.3

3. รัฐวิสาหกิจ

252,420

39.3

 

4. การนำเข้าและส่งออกสินค้าของมณฑลซานตงไปยังกลุ่มตลาดการค้าที่สำคัญ โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศ BRI มีการเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 40

ในปี 2564 อาเซียน สหรัฐอเมริกา ยุโรป เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และบราซิล เป็นตลาดการค้าที่ใหญ่ 6 อันดับแรกของมณฑลซานตง โดยมีมูลค่าการนำเข้าและส่งออกรวม ดังนี้

ที่


 

กลุ่มประเทศ


 

การนำเข้าและส่งออกรวม

การส่งออก

การนำเข้า

มูลค่ารวม
(ล้านหยวน)

เพิ่มขึ้น
(ร้อยละ)

คิดเป็น
(ร้อยละ)

มูลค่ารวม
(ล้านหยวน)

เพิ่มขึ้
(ร้อยละ)

มูลค่ารวม
(ล้านหยวน)

เพิ่มขึ้น
(ร้อยละ)

1.

อาเซียน

430,880

42.7

56.8

 

 

 

 

 

241,550

33.1

189,330

57.2

2.

สหรัฐอเมริกา

333,930

37.3

272,270

36.4

61,660

41.2

3.

สหภาพยุโรป

288,760

24.3

221,460

26.7

67,300

17.1

4.

เกาหลีใต้

269,550

29.7

174,680

31

94,870

27.2

5.

ญี่ปุ่น

182,150

16.5

139,620

16.1

42,520

17.9

6.

บราซิล

159,810

16.8

26,080

45.4

133,730

12.5

7.

กลุ่มประเทศ BRI

937,600

40.8

32

-

-

-

-

 

5. การส่งออกผลิตภัณฑ์เครื่องกลและไฟฟ้า และผลิตภัณฑ์ที่ใช้แรงงานเข้มข้นในมณฑลซานตงยังคงเติบโตอย่างรวดเร็ว

ในปี 2564 มณฑลซานตงมีการส่งออกผลิตภัณฑ์เครื่องกลและไฟฟ้า มูลค่ารวม 758,560 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 คิดเป็นร้อยละ 43.1 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของมณฑลซานตง ประกอบด้วย 1) ชิ้นส่วนยานยนต์ มีมูลค่ารวม 108,640 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.6 2) เครื่องเล่นเกมและอะไหล่ มีมูลค่ารวม 51,870 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 50.7 3) ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ มีมูลค่ารวม 43,540 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 41.1 และ 4) เครื่องใช้ไฟฟ้าประจำบ้าน มีมูลค่ารวม 40,120 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.3 นอกจากนี้ การส่งออกผลิตภัณฑ์ที่ใช้แรงงานเข้มข้น มีมูลค่ารวม 366,870 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.9 คิดเป็นร้อยละ 20.9 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของมณฑลซานตง

หมวด


 

ประเภท


 

มูลค่าส่งออกรวม

จำนวน
(ล้านหยวน)

เพิ่มขึ้นร้อยละ

คิดเป็นร้อยละ

 

ผลิตภัณฑ์เครื่องกล

และไฟฟ้า

 

 

 

ชิ้นส่วนยานยนต์

108,640

18.6

-

เครื่องเล่นเกมและอะไหล่

51,870

50.7

-

ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์

43,540

41.1

-

เครื่องใช้ไฟฟ้าประจำบ้าน

40,120

21.3

-

รวมสินค้าในหมวดผลิตภัณฑ์เครื่องกลและไฟฟ้า

758,560

35.8

43.1

ผลิตภัณฑ์ที่ใช้แรงงานเข้มข้น

366,870

27.9

20.9

 

6. การนำเข้าสินค้าโภคภัณฑ์โดยรวมเติบโตขึ้น ขณะที่การนำเข้าผลิตภัณฑ์เครื่องกลและไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ยังคงรักษาการเติบโตอย่างต่อเนื่อง

ในปี 2564 การนำเข้าสินค้าโภคภัณฑ์หลัก 14 ประเภทของมณฑลซานตง มีมูลค่ารวม 654,700 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 คิดเป็นร้อยละ 55.9 ของมูลค่าการนำเข้าทั้งหมดของมณฑลซานตง ขณะเดียวกัน การนำเข้าผลิตภัณฑ์เครื่องกลและไฟฟ้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.9 คิดเป็นร้อยละ 20.1 ของมูลค่าการนำเข้าทั้งหมดของมณฑลซานตง โดยเป็นการนำเข้าแผงวงจรรวม (IC) และอุปกรณ์เครื่องจักรกลทั่วไป เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.9 และ 25.9 ตามลำดับ นอกจากนี้ การนำเข้าสินค้าเกษตร เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.7 คิดเป็นร้อยละ 12.1 ของมูลค่าการนำเข้าทั้งหมดของมณฑลซานตง เช่น เนื้อสัตว์ ถั่ว ฝ้าย ข้าวโพด น้ำมันพืช เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.7 20.6 16.7 96.4 และ 10 ตามลำดับ

หมวด


 

รายการ (อาทิ)


 

มูลค่าการนำเข้ารวม

จำนวน
(ล้านหยวน)

เพิ่มขึ้นร้อยละ

คิดเป็นร้อยละ

สินค้าโภคภัณฑ์หลัก

654,700

28.4

55.9

ผลิตภัณฑ์เครื่องกลและไฟฟ้า

-

27.9

20.1

สินค้าทางการเกษตร

 


 


 


 

เนื้อสัตว์

-

28.7

-

ถั่ว

-

20.6

-

ฝ้าย

-

16.7

-

ข้าวโพด

-

96.4

-

น้ำมันพืช

-

10

-

รวมสินค้าในหมวดเกษตร

-

19.7

12.1

 

7. ภาพรวมการส่งออกสินค้าเกษตรของมณฑลซานตง

การส่งออกสินค้าเกษตรของมณฑลซานตง มีมูลค่ารวม 123,840 ล้านหยวน คิดเป็นร้อยละ 22.7 ของมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรทั้งหมดของจีน ซึ่งนับเป็นมณฑลที่มีการส่งออกสินค้าเกษตรมากที่สุดอันดับ 1 ของจีน และครองแชมป์ติดต่อกันเป็นระยะเวลา 23 ปี โดยในปี 2564 การส่งออกสินค้าเกษตรของมณฑลซานตง มีรายละเอียดดังนี้

7.1 สินค้าเกษตรแบบทั่วไปมีบทบาทหลักในการส่งออก 1) สินค้าเกษตรแบบทั่วไป มีมูลค่ารวม 99,980 ล้านหยวน ยังคงรักษามาตรฐานจากปีที่ผ่านมา คิดเป็นร้อยละ 80.7 ของมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรทั้งหมดของมณฑลซานตง และ 2) สินค้าเกษตรแปรรูป มีมูลค่ารวม 22,730 ล้านหยวน ลดลงร้อยละ 7.9 คิดเป็นร้อยละ 18.4 ของมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรทั้งหมดของมณฑลซานตง

7.2 วิสาหกิจเอกชนยังคงเป็นกำลังหลักในการรักษาเสถียรภาพการส่งออกสินค้าเกษตร ประกอบด้วย 1) วิสาหกิจเอกชน มีมูลค่าส่งออกรวม 96,080 ล้านหยวน คิดเป็นร้อยละ 77.6 ของมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรทั้งหมดของมณฑลซานตง 2) วิสาหกิจที่ลงทุนโดยนักลงทุนต่างชาติ มีมูลค่าการส่งออกรวม 26,730 ล้านหยวน คิดเป็นร้อยละ 21.6 ของมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรทั้งหมดของมณฑลซานตง และ 3) รัฐวิสาหกิจ มีมูลค่าการส่งออกรวม 1,030 ล้านหยวน

7.3 ญี่ปุ่น อาเซียน และยุโรป เป็นตลาดการค้าหลักในการส่งออกสินค้าเกษตรของมณฑลซานตง การส่งออกสินค้าเกษตรของมณฑลซานตงไปยัง 1) ญี่ปุ่น มีมูลค่ารวม 28,400 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 2) อาเซียน 23,440 ล้านหยวน ลดลงร้อยละ 8.2 และ 3) ยุโรป (ยกเว้นอังกฤษ) 15,240 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 ทั้งนี้ การส่งออกสินค้าเกษตรสู่กลุ่มประเทศดังกล่าว คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 54.2 ของมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรทั้งหมดของมณฑลซานตง

7.4 สินค้าประมง ผัก เห็ดชนิดทานได้ ผลไม้สดและแห้ง และผลไม้เปลือกแข็ง กลายเป็นสินค้าส่งออกหลักของมณฑลซานตง 1) สินค้าประมง มีมูลค่ารวม 28,590 ล้านหยวน 2) ผักและเห็ดชนิดทานได้ 27,600 ล้านหยวน และ 3) ผลไม้สด แห้ง และผลไม้เปลือกแข็ง 10,700 ล้านหยวน โดยสินค้ากลุ่มดังกล่าวคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 54 ของมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรทั้งหมดของมณฑลซานตง นอกจากนี้ สุราและเครื่องดื่ม มีมูลค่าส่งออกรวม 1,860 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.1

2022011716260279415

8. การค้าระหว่างประเทศของมณฑลซานตงกับกลุ่มประเทศความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP)¹

การค้าระหว่างประเทศของมณฑลซานตงกับกลุ่มประเทศ RCEP ในปี 2564 มีมูลค่าการนำเข้าและส่งออกรวม 1.03 ล้านล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 คิดเป็นร้อยละ 35.2 ของมูลค่าการนำเข้าและส่งออกทั้งหมดของมณฑลซานตง แบ่งเป็น (1) มูลค่าส่งออก 600,530 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 (2) มูลค่านำเข้า 431,360 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 40 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563

8.1 การค้าระหว่างประเทศของมณฑลซานตงกับกลุ่มประเทศสมาชิกฯ ยังคงรักษาการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2564 มณฑลซานตงมีมูลค่าการนำเข้าและส่งออกสินค้ากับประเทศเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และมาเลเซีย รวม 269,550 ล้านหยวน 182,150 ล้านหยวน และ 147,310 ล้านหยวน ตามลำดับ เพิ่มขึ้นจากปี 2563 ร้อยละ 29.7 16.5 และ 88 ตามลำดับ โดยมูลค่าการนำเข้าและส่งออกของมณฑลซานตงกับกลุ่มประเทศดังกล่าวคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 58 ของมูลค่าการนำเข้าและส่งออกทั้งหมดของมณฑลซานตงกับกลุ่มประเทศ RCEP

ที่


 

ประเทศ


 

การนำเข้าและส่งออกรวม

การส่งออก

การนำเข้า

มูลค่ารวม
(ล้านหยวน)

เพิ่มขึ้น
(ร้อยละ)

มูลค่ารวม
(ล้านหยวน)

เพิ่มขึ้
(ร้อยละ)

มูลค่ารวม
(ล้านหยวน)

เพิ่มขึ้น
(ร้อยละ)

1

เกาหลีใต้

269,550

29.7

174,680

31

94,870

27.2

2

ญี่ปุ่น

182,150

16.5

139,620

16.1

42,520

17.9

3

มาเลเซีย

147,310

88

44,710

60

102,600

103.5

4

ออสเตรเลีย

133,400

33.8

39,350

33.4

94,050

34

5

เวียดนาม

69,310

25

53,050

28.4

16,270

15.2

6

ไทย

68,170

35.5

37,220

43.5

30,950

27

 

8.2 การนำเข้าและส่งออกสินค้าของวิสาหกิจเอกชน นับว่ามีความแข็งแกร่งและมีแนวโน้มขยายตัวขึ้นเรื่อย ๆ 1) วิสาหกิจเอกชน มีมูลค่าการนำเข้าและส่งออกรวม 716,070 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.2 คิดเป็นร้อยละ 69.4 ของมูลค่าการนำเข้าและส่งออกทั้งหมดสู่กลุ่มประเทศ RCEP 2) วิสาหกิจที่ลงทุนโดยนักลงทุนต่างชาติ มีมูลค่ารวม 226,550 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 และ 3) รัฐวิสาหกิจ มีมูลค่ารวม 87,450 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 40 ในขณะเดียวกันการส่งออกสินค้าของวิสาหกิจเอกชน เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.4 คิดเป็นร้อยละ 74.9 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดสู่กลุ่มประเทศ RCEP

8.3 ผลิตภัณฑ์เครื่องกลและไฟฟ้า และผลิตภัณฑ์ที่ใช้แรงงานเข้มข้น รวมถึงผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม เป็นสินค้าส่งออกหลักที่สำคัญ มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว ได้แก่ 1) ผลิตภัณฑ์เครื่องกลและไฟฟ้า มีมูลค่าการส่งออกรวม 208,070 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.2 คิดเป็นร้อยละ 34.6 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของมณฑลซานตงสู่กลุ่มประเทศ RCEP 2) ผลิตภัณฑ์ที่ใช้แรงงานเข้มข้น มีมูลค่ารวม 145,930 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 คิดเป็นร้อยละ 24.3 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดสู่กลุ่มประเทศ RCEP และ 3) ผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม มีมูลค่ารวม 24,600 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 66.2

8.4 ผลิตภัณฑ์เครื่องกลและไฟฟ้าเป็นสินค้านำเข้าสำคัญ ขณะที่น้ำมันดิบ แร่เหล็ก มีอัตรานำเข้าที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ได้แก่ 1) ผลิตภัณฑ์เครื่องกลและไฟฟ้า มีมูลค่าการนำเข้ารวม 112,310 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 คิดเป็นร้อยละ 26 ของมูลค่าการนำเข้าทั้งหมดจากกลุ่มประเทศ RCEP 2) แร่เหล็ก มีมูลค่ารวม 71,140 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 68.9 คิดเป็นร้อยละ 16.5 ของมูลค่าการนำเข้าทั้งหมดจากกลุ่มประเทศ RCEP และ 3) น้ำมันดิบ มีมูลค่ารวม 44,700 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 150.3 คิดเป็นร้อยละ 10.4 ของมูลค่าการนำเข้าทั้งหมดจากกลุ่มประเทศ RCEP ของมณฑลซานตง ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบสัดส่วนกับมูลค่าสินค้านำเข้าประเภทเดียวกันจากทั่วโลกของมณฑลซานตง มณฑลซานตงนำเข้าสินค้าแร่เหล็ก น้ำมันดิบ และเยื่อกระดาษจากกลุ่มประเทศ RCEP คิดเป็นร้อยละ 53.6 14.9 และ 26.9 ตามลำดับ

กลุ่มประเทศ RCEP มีบทบาทสำคัญต่อการค้าระหว่างประเทศของมณฑลซานตง โดยเฉพาะกับกลุ่มประเทศอาเซียนที่ยังคงเป็นตลาดการค้าที่สำคัญที่สุดในกลุ่ม ตลอดจนเกาหลีใต้และญี่ปุ่นที่มีอาณาเขตทางทะเลที่ใกล้ชิดกัน ซึ่งเป็นข้อได้เปรียบทางภูมิศาสตร์ที่ทำให้ประเทศทั้งสองเป็นฐานอุตสาหกรรมที่จะนำไปสู่ขยายความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจและการค้ากับจีน ดังนั้นจะเห็นได้ว่า การมีผลใช้บังคับของความตกลง RCEP เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2565 ได้ช่วยส่งเสริมให้มณฑลซานตงสามารถมุ่งสู่การค้าระหว่างประเทศที่มีมาตรฐานสูง ทั้งยังพลิกสถานการณ์ในพื้นที่เศรษฐกิจของมณฑลซานตง และเร่งผลักดันการเปิดโอกาสสำคัญสำหรับการค้าระหว่างประเทศของมณฑลซานตงอีกด้วย

อนึ่ง มณฑลซานตงเป็นจุดที่ความตกลง RCEP เริ่มการมีผลใช้บังคับเป็นครั้งแรกระหว่างจีนและญี่ปุ่น โดยมณฑลซานตงส่งออกสินค้าสู่ประเทศญี่ปุ่นในปีแรก จะได้รับส่วนลดทางภาษีประมาณ 380 ล้านหยวน และเมื่อความตกลง RCEP มีผลโดยสมบูรณ์ มณฑลซานตงจะสามารถนำเข้าสินค้าจากญี่ปุ่น โดยได้รับส่วนลดทางภาษีประมาณ 900 ล้านหยวน

ข้อสังเกตของสถานกงสุลใหญ่ฯ
จากข้อมูลข้างต้นสามารถประจักษ์ได้ว่า การเริ่มมีผลใช้บังคับของความตกลง RCEP ส่งผลให้มณฑลซานตงเป็นจุดเชื่อมโยงเครือข่ายอุตสาหกรรม มีเสถียรภาพทางการค้า และสามารถรองรับการลงทุนระหว่างประเทศ อันจะช่วยส่งเสริมให้มณฑลซานตงเป็นจุดหมุนเวียนแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศ อีกทั้งจะมีบทบาทสำคัญในการนำไปสู่การพัฒนาในรูปแบบใหม่ ตลอดจนผลักดันให้การค้าระหว่างประเทศของมณฑลซานตงและประเทศสมาชิกฯ เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังที่ได้เคยนำเสนอในบทความของศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน ประจำสถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองชิงต่าว ในหัวข้อ “ไทยกับโอกาสการค้าในมณฑลซานตงและภูมิภาคเอเชียตะวันออก ภายใต้ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP)” เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2565 หากสนใจสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://thaibizchina.com/


¹ ความตกลง RCEP มีผลใช้บังคับเมื่อ 1 มกราคม 2565 โดยมีประเทศที่ให้สัตยาบันแล้ว ได้แก่ บรูไน กัมพูชา ลาว สิงคโปร์ ไทย เวียดนาม ออสเตรเลีย จีน ญี่ปุ่น และนิวซีแลนด์

 

 

 

 

ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน
สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองชิงต่าว
แหล่งข้อมูล:
– เว็บไซต์ทางการของสำนักงานศุลกากรเมืองชิงต่าว http://qingdao.customs.gov.cn/ (วันที่ 20 ม.ค. 2565)

– https://sd.dzwww.com/sdnews/202201/t20220117_9705656.htm (วันที่ 17 ม.ค. 2565)
– https://sd.dzwww.com/sdnews/202201/t20220117_9705658.htm (วันที่ 17 ม.ค. 2565)
– https://sd.dzwww.com/sdnews/202201/t20220117_9705657.htm (วันที่ 17 ม.ค. 2565)
– https://sd.dzwww.com/sdnews/202201/t20220117_9705176.htm (วันที่ 17 ม.ค. 2565)
– http://english.sdchina.com/show/4676367.html (วันที่ 18 ม.ค. 2565)

– http://english.sdchina.com/show/4677236.html (วันที่ 21 ม.ค. 2565)


ข่าวใกล้เคียง

ข่าวใกล้เคียง