การค้าระหว่างประเทศของมณฑลซานตงในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี 2564

การค้าระหว่างประเทศของมณฑลซานตงในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี 2564

วันที่นำเข้าข้อมูล 8 พ.ย. 2564

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565

| 952 view

src_http___nimg.ws.126.net__url_http_3A_2F_2Fdingyue.ws.126.net_2F2021_2F1018_2F67c8ad61j00r16jeq01qmc004gw03cog.jpg_thumbnail_650x2147483647_quality_80_type_jpg_refer_http___nimg.ws.126_(1)

การค้าระหว่างประเทศของมณฑลซานตงในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี 2564 มูลค่าการนำเข้า – ส่งออกรวม 2,118,730 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 41.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 แบ่งเป็น (1) มูลค่าการส่งออก 1,233,280 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 52 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 (2) มูลค่าการนำเข้ารวม 885,460 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562

เฉพาะในเดือนกันยายน 2564 มูลค่าการนำเข้า – ส่งออกรวม 268,320 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 แบ่งเป็น (1) มูลค่าการส่งออก 169,050 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.4 (2) มูลค่าการนำเข้ารวม 99,280 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.1

มูลค่าการนำเข้า – ส่งออกสำหรับเมืองชิงต่าว อยู่ที่ 622,590 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.6 คิดเป็นร้อยละ 29.4 ของจำนวนสินค้านำเข้า – ส่งออกของมณฑลซานตง โดยในปี 2563 ตลอดทั้งปี มีมูลค่าการนำเข้า – ส่งออกสำหรับเมืองชิงต่าว อยู่ที่ 640,700 ล้านหยวน

มณฑลซานตง เป็นมณฑลอันดับ 1 ของจีนในการนำเข้า – ส่งออกสินค้า และมีอัตราการเติบโตของการค้าระหว่างประเทศมากที่สุดของจีน เนื่องจากมีการพัฒนาเมืองท่า และพิกัดทางด้านภูมิศาสตร์ที่ดี เหมาะแก่การเป็นเมืองท่าในการนำเข้า – ส่งออกสินค้า ซึ่งจากการรายงานของสำนักงานศุลกากร ประเทศจีน ในเรื่องการจัดอันดับ 100 เมืองในจีนที่สำคัญในการนำเข้า-ส่งออกสินค้า ประจำปี 2563 นั้น เมืองในมณฑลซานตง ติดอันดับถึง 12 เมือง ดังนี้

ที่ เมือง อันดับ (ประเทศ)
1 เมืองชิงต่าว 11
2 เมืองเวยไห่ 25
3 เมืองตงหยิง 29
4 เมืองเยียนไถ 32
5 เมืองเหวยฟาง 42
6 เมืองจือปั๋ว 44
7 นครจี่หนาน 51
8 เมืองเหอเจ๋อ 58
9 เมืองปินโจว 68
10 เมืองเหลียวเฉิง 81
11 เมืองหลินอี๋ 85
12 เมืองรื่อจ้าว 96

 

  1. สินค้าทั่วไป รวมมูลค่า 1.4 ล้านล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.1 คิดเป็น 2 ใน 3 ของจำนวนสินค้านำเข้า – ส่งออกทั้งหมดของมณฑลซานตง
  2. สินค้าแปรรูป รวมมูลค่า 335,080 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 25
  3. สินค้าในคลังสินค้าทัณฑ์บน (Bonded Warehouse) รวมมูลค่า 293,590 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 65.3

ประเทศคู่ค้าสำคัญของมณฑลซานตงที่นำเข้า – ส่งออกสินค้า ได้แก่ (1) กลุ่มประเทศอาเซียน รวมมูลค่า 298,090 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 47.3 (2) สหรัฐอเมริกา รวมมูลค่า 240,780 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 53.9 (3) กลุ่มประเทศสหภาพยุโรป รวมมูลค่า 209,270 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.2 (4) เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และบราซิล เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.3 20.3 และ 28.6 ตามลำดับ (5) กลุ่มประเทศ “Belt and Road รวมมูลค่า 659,710 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 41.3 คิดเป็นร้อยละ 31.1 ของปริมาณการนำเข้า – ส่งออกสินค้าทั้งหมดของมณฑลซานตง และ (6) กลุ่มประเทศความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) รวมมูลค่า 742,050 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 คิดเป็นร้อยละ 35 ของปริมาณการนำเข้า – ส่งออกสินค้าทั้งหมดของมณฑลซานตง

  1. การค้าระหว่างประเทศของมณฑลซานตงกับกลุ่มประเทศอาเซียน

การค้ากับกลุ่มประเทศอาเซียน ยังคงมีบทบาทสำคัญที่สุดในการค้าระหว่างประเทศของมณฑลซานตง โดยมีมูลค่าการนำเข้า – ส่งออกสินค้ารวม 298,090 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 47.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 คิดเป็นร้อยละ 14.1 ของปริมาณการนำเข้า – ส่งออกสินค้าทั้งหมดของมณฑลซานตง ประกอบด้วยประเทศหลัก ๆ 3 ประเทศ ที่เป็นตลาดสำคัญของการนำเข้า – ส่งออกสินค้า คือ (1) มาเลเซีย (2) ไทย และ (3) เวียดนาม ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 67.1 ของปริมาณการนำเข้า – ส่งออกสินค้าทั้งหมดของกลุ่มประเทศอาเซียน ทั้งนี้ เนื่องด้วยความร่วมมือในการป้องกันและควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ระหว่างจีนและกลุ่มประเทศอาเซียนที่ดี ทำให้การแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างกันเป็นไปอย่างราบรื่น ในขณะเดียวกัน โครงสร้างทางเศรษฐกิจของมณฑลซานตงและกลุ่มประเทศอาเซียนมีความสอดคล้อง ชัดเจน และแข็งแกร่ง อย่างมาก ซึ่งผลักดันให้การค้าระหว่างประเทศของมณฑลซานตงกับกลุ่มประเทศอาเซียนเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว

4.1 สินค้าที่มณฑลซานตงนำเข้าจากกลุ่มประเทศอาเซียน ได้แก่ วัตถุดิบที่มาจากทรัพยากรธรรมชาติ วัตถุดิบจากต้นน้ำ เช่น น้ำมันดิบ เพิ่มขึ้นร้อยละ 179.1 ยางพารา เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.5 แผงวงจรรวม (IC) เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.8 สินค้าเกษตร เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.4 คิดเป็นร้อยละ 46.4 ของปริมาณสินค้านำเข้าทั้งหมดจากกลุ่มประเทศอาเซียน

4.2 สินค้าที่มณฑลซานตงส่งออกสู่กลุ่มประเทศอาเซียน ได้แก่ สินค้าทางด้านอุตสาหกรรม เช่น สินค้าเครื่องจักรกลและไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์ที่ใช้แรงงานเข้มข้น เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.4 และ 41.8 ตามลำดับ คิดเป็นร้อยละ 53.8 ของปริมาณสินค้านำส่งออกทั้งหมดสู่กลุ่มประเทศอาเซียน และมีส่งออกสินค้าอื่น ๆ เช่น วัสดุเหล็กกล้า รถยนต์ และเฟอร์นิเจอร์ ที่มีปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 76.5 105.5 และ 61.2 ตามลำดับ

มณฑลซานตงยังคงรักษามาตรฐานและเพิ่มมูลค่าการนำเข้า – ส่งออกสินค้าอยู่เสมอ โดยเฉพาะกับกลุ่มประเทศอาเซียนที่ยังคงเป็นตลาดการค้าที่สำคัญ และเป็นอันดับ 1 ของมณฑลฯ มีการสร้างความแข็งแกร่งทางด้านการค้าและกำลังการผลิตมากขึ้น

  1. กลุ่มประเทศ “Belt and Road” (BRI)

รวมมูลค่าการนำเข้า – ส่งออก อยู่ที่ 659,710 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 41.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 54.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 คิดเป็นร้อยละ 31.1 ของปริมาณการนำเข้า – ส่งออกสินค้าทั้งหมดของมณฑลซานตง แบ่งเป็น (1) มูลค่าการส่งออก อยู่ที่ 367,710 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 และ (2) มูลค่าการนำเข้า อยู่ที่ 292,000 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 43.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563

ในเดือนกันยายนเพียงเดือนเดียว รวมมูลค่าการนำเข้า – ส่งออก อยู่ที่ 80,300 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 โดยมีรายการสินค้า ดังนี้

5.1 สินค้าทั่วไป รวมมูลค่า 450,250 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.8 คิดเป็นร้อยละ 68.3 ของปริมาณการค้ากับกลุ่มประเทศ BRI ทั้งหมด

5.สินค้าแปรรูป รวมมูลค่า 72,820 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.5

5.สินค้าในคลังสินค้าทัณฑ์บน (Bonded Warehouse) รวมมูลค่า 102,920

ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 50.4

5.4 ประเทศคู่ค้าสำคัญของมณฑลซานตงในกลุ่มประเทศ BRI ที่นำเข้า – ส่งออกสินค้า ได้แก่ (1) กลุ่มประเทศอาเซียน รวมมูลค่า 298,090 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 47.3 คิดเป็นร้อยละ 45.2 ของปริมาณการค้ากับกลุ่มประเทศ BRI ทั้งหมด (2) รัสเซีย รวมมูลค่า 88,090 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.2 (3) อินเดีย รวมมูลค่า 44,110 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 58.9

               5.5 สินค้าที่มณฑลซานตงส่งออกให้กับกลุ่มประเทศ BRI ได้แก่ (1) สินค้าเครื่องจักรกลและไฟฟ้า อยู่ที่ 161,550 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.9 คิดเป็นร้อยละ 43.9 ของปริมาณการส่งออกกับกลุ่มประเทศ BRI ทั้งหมด (2) เหล็กกล้า อยู่ที่ 31,040 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 59.5 และ (3) สินค้าเกษตร อยู่ที่ 27,170 ล้านหยวน ลดลงร้อยละ 3.7 เป็นต้น

               5.6 สินค้าที่มณฑลซานตงนำเข้าจากกลุ่มประเทศ BRI ได้แก่ (1) น้ำมันดิบ รวมมูลค่า 123,750 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 40 คิดเป็นร้อยละ 42.4 ของปริมาณการนำเข้าจากกลุ่มประเทศ BRI ทั้งหมด (2) สินค้าเครื่องจักรกลและไฟฟ้า รวมมูลค่า 33,820 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.3 (3) สินค้าเกษตร รวมมูลค่า 20,820 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.9 เป็นต้น

ในปีนี้ ครบรอบ 8 ปี การเริ่มโครงการ “Belt and Road” (BRI) ซึ่งความร่วมมือและความสัมพันธ์ทางการค้าเป็นไปด้วยดีตลอดมา มีรูปแบบหรือประเภทสินค้าเพิ่มขึ้น และสร้างพื้นที่ทางธุรกิจมากขึ้น ปัจจุบันมณฑลซานตงมีขบวนรถไฟขนส่งสินค้าเส้นทางจีน – ยุโรป (Qilu) ที่หลากหลายเส้นทาง และรวดเร็วมากขึ้นกว่า 50 เส้นทาง ผ่าน 22 ประเทศ 52 เมืองในกลุ่มประเทศ BRI โดยในช่วง 3 ไตรมาสแรกที่ผ่านมา ได้มีขบวนรถไฟดังกล่าวที่ทำการส่งสินค้าแล้วถึง 1,335 ขบวน จากนครจี่หนาน 534 ขบวน เมืองชิงต่าว 403 ขบวน โดยมีทั้งรูปแบบขบวนสินค้า E-commerce, Cold Chain และอื่น ๆ ซึ่งมูลค่าการนำเข้า – ส่งออก อยู่ที่ 18,560 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 63.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563

  1. สินค้าส่งออกหลักของมณฑลซานตง

6.1 สินค้าเครื่องจักรกลและไฟฟ้า รวมมูลค่า 536,350 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 45 คิดเป็นร้อยละ 43.5 ของปริมาณการส่งออกทั้งหมด

6.2 ชิ้นส่วนยานยนต์ รวมมูลค่า 78,910 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.5

6.3 เครื่องเล่นเกมและอะไหล่ รวมมูลค่า 39,440 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 123.8

6.4 ผลิตภัณฑ์ที่ใช้แรงงานเข้มข้น รวมมูลค่า 253,160 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.5 คิดเป็นร้อยละ 20.5 ของปริมาณการส่งออกทั้งหมด

  1. สินค้าที่นำเข้าหลักของมณฑลซานตง ได้แก่ (1) สินค้าโภคภัณฑ์ 14 รายการ รวมมูลค่า 492,100 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.2 คิดเป็นร้อยละ 55.6 ของปริมาณการนำเข้าทั้งหมด (2) สินค้าแผงวงจรรวม (IC) อุปกรณ์เครื่องจักรกลทั่วไป เพิ่มขึ้นร้อยละ 54.4 และ 36.8 ตามลำดับ (3) สินค้าเครื่องจักรกลและไฟฟ้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.9 คิดเป็นร้อยละ 20 ของปริมาณการนำเข้าทั้งหมด (4) สินค้าประเภทเนื้อสัตว์ ถั่ว ฝ้าย ข้าวโพด และน้ำมันพืช (5) สินค้าเกษตร เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.9 คิดเป็นร้อยละ 12.4 ของปริมาณการนำเข้าทั้งหมด
  2. การลงทุน

โครงสร้างการลงทุนยังคงได้รับการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง วิสาหกิจการค้าที่ลงทุนโดยนักลงทุนต่างชาติ (ใช้จริง) อยู่ที่ 542,027 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 50.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 จัดเป็นอันดับที่ 6 มณฑลหรือเมืองที่มีการดึงดูดการลงทุนมากที่สุด โดยในเดือนกันยายน 2564 มีการลงทุนโดยนักลงทุนต่างชาติ อยู่ที่ 12,029 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.2

– การลงทุนในอุตสาหกรรมการผลิต อยู่ที่ 29,235 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 111.6 แบ่งเป็นอุตสาหกรรมการผลิตที่มีเทคโนโลยีขั้นสูง 6,077 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 47.2

– การลงทุนในด้านบริการ อยู่ที่ 66,083 เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.1 แบ่งเป็นการบริการที่มีเทคโนโลยีขั้นสูง 13,177 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 52.1

โดยเป็นนักลงทุนจากพื้นที่/ ประเทศต่าง ๆ ดังนี้

ที่ เมือง/ประเทศ เงินลงทุน
(ล้านหยวน)
สัดส่วนเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 (คิดเป็นร้อยละ)
1 ฮ่องกง 81,426 51.1
2 สิงคโปร์ 7,930 74.4
3 ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ 5,308 142
4 กลุ่มประเทศ RCEP 13,942 85.2
5 กลุ่มประเทศ BRI 8,442 79.2

ในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี 2564 มี 150 บริษัท ที่เป็นวิสาหกิจการค้าที่ลงทุนโดยนักลงทุนต่างชาติ มีเงินลงทุนถึง 191,880,000 หยวน (30 ล้านเหรียญสหรัฐ) และรวมบริษัทอื่น ๆ ทั้งหมดมีเงินลงทุนถึง 58,084 ล้านหยวน โดยมี 18 บริษัท ที่ใช้เงินลงทุนแล้วเกิน 1 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 7 บริษัท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563

สถิติต่าง ๆ แสดงให้เห็นว่ากลุ่มบริษัทข้ามชาติ มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นในมณฑลซานตง สร้างความแข็งแกร่งทางด้านการค้า การลงทุนมากขึ้น มีการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างมณฑลซานตงกับบริษัทข้ามชาติ อีกทั้ง สำนักงานศุลกากร พร้อมที่จะสนับสนุนบริษัทข้ามชาติอย่างเต็มที่ในการลงทุนและเริ่มต้นธุรกิจในมณฑลซานตง พร้อมออกมาตรการที่ครอบคลุมในการอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ทำให้การค้าระหว่างประเทศมีการฟื้นตัว และเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลให้การผลิต และเศรษฐกิจของจีน รวมถึงมณฑลซานตงดีขึ้น อีกทั้ง นับว่ามณฑลซานตงได้วางแผนการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจในอนาคตได้เป็นอย่างดี

 

 

 

 

 

 

 

 

ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน
สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองชิงต่าว
แหล่งที่มา:
http://sd.iqilu.com/v5/live/pcQwfb/13325.html
http://news.iqilu.com/shandong/yaowen/2021/1018/4977228.shtml
http://news.iqilu.com/shandong/yaowen/2021/1026/4983570.shtml
https://sd.dzwww.com/sdnews/202110/t20211025_9334458.htm
http://sd.dzwww.com/sdnews/202110/t20211027_9344007.htm
(เว็บไซต์ทางการของมณฑลซานตง สำนักข่าว https://www.iqilu.com/ และเว็บไซต์ (大众网))


ข่าวใกล้เคียง

ข่าวใกล้เคียง