4,397 view

การจดทะเบียนสมรส/หย่า

 

กรุณานัดหมายล่วงหน้าทางหมายเลขโทรศัพท์ + (86-532) 6887-7038 เลือก บริการคนไทย หรืออีเมล [email protected] และส่งข้อมูลเอกสารที่เกี่ยวข้องไปยังอีเมลด้านบนนี้

ทั้งนี้ ในวันนัดหมาย กรุณานำเอกสารดังกล่าวมาด้วย

         

        การจดทะเบียนสมรสหรือจดทะเบียนหย่าที่สถานกงสุลใหญ่ฯ จะกระทำได้เฉพาะการจดทะเบียนระหว่างบุคคลสัญชาติไทย หรือระหว่างบุคคลสัญชาติไทยกับต่างชาติ และเป็นการจดทะเบียนตามกฎหมายไทย ทั้งนี้ การจะขอจดทะเบียนฯ ต้องติดต่อนัดหมายล่วงหน้าอย่างน้อย 7 วันทำการ ผู้ขอจดทะเบียนจะต้องส่งเอกสารประกอบให้เจ้าหน้าที่ล่วงหน้าเพื่อเตรียมจัดพิมพ์เอกสารที่เกี่ยวข้อง

 

1. การจดทะเบียนสมรส

หน้าปก

คลิ๊กที่นี่ เพื่อรับชมคลิป

 

     1.1 การสมรสระหว่างคนไทยด้วยกัน

            1. การขอจดทะเบียนสมรสผู้ที่จะทำการสมรสทั้งสองฝ่ายจะต้องยื่นคำร้องด้วยตนเองที่สถานกงสุลใหญ่ฯ เนื่องจากคู่สมรสต้องลงลายมือชื่อต่อหน้านายทะเบียน และพยาน 2 คน โดยผู้ขอจดทะเบียนสมรสจะต้องเป็นผู้ที่บรรลุนิติภาวะแล้ว ในกรณีเป็นผู้เยาว์จะต้องมีหนังสือแสดงความยินยอมของผู้ปกครองมาแสดงต่อนายทะเบียน และต้องเตรียมเอกสารของผู้ร้องทั้งสองฝ่ายตามที่ระบุดังต่อไปนี้มาให้ครบถ้วน

           2. คำร้องขอจดทะเบียนสมรส

           3.บัตรประจำตัวประชาชนฉบับจริง หรือบัตรเหลืองติดรูปถ่าย หรือหนังสือรับรองบุคคลติดรูปถ่าย หรือ ใบต้นขั้วคำร้องขอมีบัตรประชาชน มีตรารับรองจากอำเภอ หรือเอกสารรับรองบุคคลออกโดยกรมการปกครอง

           4. ทะเบียนบ้านไทยฉบับจริง หรือฉบับที่มีตรารับรองจากที่ว่าการอำเภอ (สำเนาซึ่งที่ว่าการอำเภอรับรองมาจะต้องออกให้ภายใน 3 เดือน นับถึงวันที่มายื่น)

           5. หนังสือเดินทางฉบับจริง

           6. ใบรับรองความเป็นโสดซึ่งออกโดยที่ว่าการอำเภอไทยไม่เกิน 3 เดือน โดยต้องผ่านการรับรองจากกองสัญชาติและนิติกรณ์กระทรวงการต่างประเทศไทย

                กรณี ที่เคยทำการสมรสและเคยหย่า จะต้องมีหนังสือรับรอง (ออกโดยที่ว่าการอำเภอไม่เกิน 3 เดือน) ว่าไม่เคยทำการสมรสกับผู้ใด ภายหลังจากการหย่ามาแสดงด้วย (ต้องผ่านการรับรองจากกองสัญชาติและนิติกรณ์ กระทรวงการต่างประเทศไทย)

            7. หากเคยแต่งงานมาก่อน ต้องนำใบสำคัญการหย่าฉบับจริง หรือใบทะเบียนฐานะครอบครัวหย่า มาแสดง

                กรณี ที่เป็นหญิงไทย และหย่ายังไม่ถึง 310 วัน จะต้องมีใบรับรองแพทย์ว่าไม่ได้ตั้งครรภ์มาแสดง

            (ไม่เสียค่าธรรมเนียม)

 หมายเหตุ

     - ตามพระราชบัญญัติชื่อบุคคล ภายหลังการสมรสแล้ว คู่สมรสมีสิทธิเลือกใช้ชื่อสกุลของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตามที่ตกลงกัน หรือต่างฝ่ายต่างคงใช้ชื่อสกุลเดิมของตนได้โดยให้แจ้งต่อนายทะเบียนทราบ

     - ฝ่ายหญิงเมื่อสมรสตามกฎหมายไทยแล้ว สามารถใช้คำนำหน้านามเป็น "นางสาว" หรือ "นาง" ก็ได้ 

 

    1.2 การสมรสระหว่างคนไทยกับจีน

           การขอจดทะเบียนสมรสผู้ที่จะทำการสมรสจะต้องยื่นคำร้องด้วยตนเองที่สถานกงสุลใหญ่ฯ เนื่องจากคู่สมรสต้องลงลายมือชื่อต่อหน้านายทะเบียน และพยาน 2 คน โดยจะต้องเตรียมเอกสารของผู้ร้องทั้งสองฝ่ายตามที่ระบุดังต่อไปนี้มาให้ครบถ้วน

           เอกสารของบุคคลสัญชาติไทย

           1. คำร้องขอจดทะเบียนสมรส

           2. บัตรประจำตัวประชาชนฉบับจริง หรือบัตรเหลืองติดรูปถ่าย หรือหนังสือรับรองบุคคลติดรูปถ่าย หรือ ใบต้นขั้วคำร้องขอมีบัตรประชาชน มีตรารับรองจากที่ว่าการอำเภอ หรือเอกสารรับรองบุคคลออกโดยกรมการปกครอง

           3. ทะเบียนบ้านไทยฉบับจริง หรือฉบับที่มีตรารับรองจากที่ว่าการอำเภอ (สำเนาซึ่งที่ว่าการอำเภอรับรองมา จะต้องออกให้ภายใน 3 เดือน นับถึงวันที่มายื่น)

           4. หนังสือเดินทางฉบับจริง

           5. ใบรับรองความเป็นโสดซึ่งออกโดยที่ว่าการอำเภอไทยไม่เกิน 3 เดือน โดยต้องผ่านการรับรองจากกองสัญชาติและนิติกรณ์ กระทรวงการต่างประเทศไทย

               กรณี ที่เคยทำการสมรสและเคยหย่าจะต้องมีหนังสือรับรอง (ออกโดยที่ว่าการอำเภอไม่เกิน 3 เดือน) ว่าไม่เคยทำการสมรสกับผู้ใดภายหลังจากการหย่ามาแสดงด้วย (ต้องผ่านการรับรองจากกองสัญชาติและนิติกรณ์ กระทรวงการต่างประเทศไทย)

           6. หากเคยแต่งงานมาก่อน ต้องนำใบสำคัญการหย่าฉบับจริง หรือใบทะเบียนฐานะครอบครัวหย่า มาแสดง

               กรณี ที่เป็นหญิงไทย และหย่ายังไม่ถึง 310 วัน จะต้องมีใบรับรองแพทย์ว่าไม่ได้ตั้งครรภ์มาแสดง

            เอกสารของบุคคลสัญชาติจีน

            1. หนังสือเดินทางตัวจริง พร้อมสำเนาหน้าที่มีรูปถ่ายและมีชื่อ 1 ชุด หรือใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ไทย พร้อมสำเนาด้านหน้าและด้านหลัง

            2. ใบรับรองความเป็นโสด

            * เอกสารทุกอย่างต้องออกให้ภายใน 3 เดือน นับถึงวันที่มายื่น* 

            (ไม่เสียค่าธรรมเนียม) 

      หมายเหตุ 

       ในบางกรณี สถานกงสุลใหญ่ฯ อาจขอเอกสารจำเป็นอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมด้วย 

 

    1.3 การสมรสระหว่างคนไทยกับคนสัญชาติอื่น

           การขอจดทะเบียนการสมรสผู้ที่จะทำการสมรสทั้งสองฝ่ายจะต้องไปยื่นคำร้องด้วยตนเองที่สถานกงสุลใหญ่ฯ เนื่องจากคู่สมรสต้องลงลายมือชื่อต่อหน้านายทะเบียน และพยาน 2 คน โดยจะต้องจัดเตรียมเอกสารของผู้ร้องทั้งสองฝ่ายตามที่ระบุดังต่อไปนี้มาให้ครบถ้วน

            เอกสารของบุคคลสัญชาติไทย

            1. คำร้องขอจดทะเบียนสมรส

            2. บัตรประจำตัวประชาชนไทยตัวจริง หรือบัตรเหลืองติดรูปถ่าย หรือหนังสือรับรองบุคคลติดรูปถ่าย 

            3. ทะเบียนบ้านไทยตัวจริง หรือฉบับที่มีตรารับรองจากที่ว่าการอำเภอ (สำเนาซึ่งที่ว่าการอำเภอรับรองมาจะต้องออกให้ภายใน 3 เดือน นับถึงวันที่มายื่น)

            4. หนังสือเดินทางตัวจริง 

            5. ใบรับรองความเป็นโสด ซึ่งออกโดยที่ว่าการอำเภอไทยไม่เกิน 3 เดือน โดยต้องผ่านการรับรองจากกองสัญชาติและนิติกรณ์ กระทรวงการต่างประเทศไทย

                กรณี ที่เคยทำการสมรสและเคยหย่าจะต้องมีหนังสือรับรอง (ออกโดยที่ว่าการอำเภอไม่เกิน 3 เดือน) ว่าไม่เคยทำการสมรสกับผู้ใดภายหลังจากการหย่ามาแสดงด้วย (ต้องผ่านการรับรองจากกองสัญชาติและ นิติกรณ์ กระทรวงการต่างประเทศไทย)

            6. หากเคยจดทะเบียนหย่ามาก่อน ต้องนำใบสำคัญการหย่าตัวจริงหรือใบทะเบียนฐานะแห่งครอบครัวหย่าพร้อมสำเนา 1 ชุด

                กรณี ที่เป็นหญิงไทยต้องหย่ามาแล้วอย่างน้อย 310 วัน หากหย่ายังไม่ถึง 310 วัน จะต้องมีใบรับรองแพทย์ว่าไม่ได้ตั้งครรภ์มาแสดง

            7. หากเคยเปลี่ยนชื่อมาก่อน กรุณานำใบเปลี่ยนชื่อตัวจริงมาแสดง

            เอกสารของบุคคลสัญชาติอื่น

            1. หนังสือเดินทาง พร้อมสำเนาหน้าที่มีรูปถ่ายและมีชื่อ 1 ชุด

            2. หนังสือรับรองสถานะการสมรสออกโดยทางการของประเทศคู่สมรส ซึ่งจะต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษ และได้รับการรับรองเอกสารจากสถานเอกอัครราชทูตฯ/สถานกงสุลใหญ่ฯ ของประเทศของคู่สมรสประจำประเทศจีน 1 ชุด

            3. กรณีเป็นหญิง การสมรสเดิมสิ้นสุดลงจะต้องมีใบรับรองแพทย์ว่าไม่ได้ตั้งครรภ์มาแสดง

            (ไม่เสียค่าธรรมเนียม) 

 


2. การจดทะเบียนหย่า

            การขอจดทะเบียนหย่าจะต้องไปยื่นคำร้องด้วยตนเองที่สถานกงสุลใหญ่ฯ เนื่องจาก ต้องลงลายมือชื่อต่อหน้านายทะเบียน และพยาน 2 คน โดยจะต้องจัดเตรียมเอกสารของผู้ร้องทั้งสองฝ่ายตามที่ระบุดังต่อไปนี้มาให้ครบถ้วน

            เอกสารของบุคคลสัญชาติไทย

            1. คำร้องขอจดทะเบียนหย่า

            2. บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริง 

            3. ทะเบียนบ้านไทยตัวจริง 

            4. หนังสือเดินทางตัวจริง 

            5. หากเป็นการหย่าโดยคำพิพากษาของศาล ผู้ร้องต้องนำหลักฐานมาแสดง

            6. ใบสำคัญการสมรสฉบับจริงที่ออกโดยสถานเอกอัครราชทูตฯ/สถานกงสุลใหญ่ฯ หรือที่ว่าการอำเภอไทย ฝ่ายละ 1 ฉบับ หรือฉบับที่มีตรารับรองจากที่ว่าการอำเภอ (สำเนาซึ่งที่ว่าการอำเภอรับรองมาจะต้องออกให้ภายใน 3 เดือนนับถึงวันที่มายื่น)

             เอกสารของบุคคลสัญชาติจีนหรือสัญชาติอื่น

             1. หนังสือเดินทาง หรือใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ไทย

             2. รูปถ่ายสีขนาด 1 นิ้ว จำนวน 1 ใบ

             3. ใบสำคัญการสมรสฉบับจริง (ทะเบียนสมรส)

             (ไม่เสียค่าธรรมเนียม)

 หมายเหตุ การปกครองบุตร

     1. กรณีการหย่าโดยความยินยอม ให้ทำความตกลงเป็นหนังสือว่าฝ่ายใดจะปกครองบุตรคนใด หากตกลงกันไม่ได้หรือมิได้ตกลงกันให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาด

     2. กรณีการหย่าโดยคำพิพากษาของศาล ศาลจะชี้ขาดให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือบุคคลภายนอกเป็นผู้ปกครอง