เศรษฐกิจมณฑลซานตง ปี 2563 ขยายตัว 3.6% GDP สูงเป็นอันดับ 3 ของจีน

เศรษฐกิจมณฑลซานตง ปี 2563 ขยายตัว 3.6% GDP สูงเป็นอันดับ 3 ของจีน

วันที่นำเข้าข้อมูล 8 มี.ค. 2564

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 26 พ.ย. 2565

| 764 view
  1. ภาพรวมเศรษฐกิจปี 2563
    ผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ของมณฑลซานตงในปี 2563 มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศ รองจากมณฑลกวางตุ้ง และมณฑลเจียงซู โดยมีมูลค่า 7,312,900 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา แบ่งเป็น
    – อุตสาหกรรมขั้นปฐมภูมิมีมูลค่าเพิ่ม 536,376 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7
    – อุตสาหกรรมขั้นทุติยภูมิมีมูลค่าเพิ่ม 2,861,219 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3
    – อุตสาหกรรมขั้นตติยะภูมิมีมูลค่าเพิ่ม 3,915,305 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9
    โดยสัดส่วนของมูลค่าผลผลิตที่เกิดจากอุตสาหกรรมทั้ง 3 ประเภทต่อ GDP แบ่งเป็น 7.3 : 39.1 : 53.6
  2. ภาคอุตสาหกรรม
    2.1 ภาคการผลิต มูลค่าอุตสาหกรรมการผลิตรวม 2,311,100 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 อุตสาหกรรมขนาดใหญ่มีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 5 โดยอุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.6 และอุตสาหกรรมการผลิตเทคโนโลยีขั้นสูงเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.8
    2.2 ภาคการเกษตร
    – มูลค่าผลผลิตภาคการเกษตรรวม 1,019,060 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3 เป็นมณฑลแรกที่มีมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรทะลุล้านล้านหยวน ผลผลิตข้าวและธัญพืช 54,470,000 ตัน เพิ่มขึ้น 900,000 ตัน มีผลผลิตเกิน 50 ล้านตัน ติดต่อกันมาเป็นเวลา 7 ปี
    – ผลผลิตเนื้อหมู เนื้อวัว เนื้อแกะและเนื้อสัตว์ปีก มีปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 ไข่จากสัตว์ปีก เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8 ผลผลิตนมวัว 24,140,000 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 ผลผลิตผลิตภัณฑ์ทางทะเล 79,020,000 ตัน
    2.3 ภาคการบริการ มีมูลค่าเพิ่ม 3,915,310 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา คิดเป็นร้อยละ 53.6 ของ GDP มณฑลซานตง
    – รายได้จากการท่องเที่ยว 601,970 ล้านหยวน ลดลงจากปีก่อนหน้าเนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19
    – บริการไปรษณีย์และโทรคมนาคมมีมูลค่ารวม 819,380 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.7 เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา
    – บริการส่งพัสดุแบบด่วน (Express Delivery) มีมูลค่า 4,150 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นสูงถึงร้อยละ 43.7
    – บริการขนส่งสินค้าผ่านทางรถไฟ ทางถนนและทางน้ำมีปริมาณรวม 3,090 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1
    – บริการขนส่งสินค้าผ่านทางท่าเรือชายฝั่งทะเลมีปริมาณรวม 1,690 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9
  3. ภาคการลงทุน
    – การลงทุนในทรัพย์สินถาวร เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา
    – การลงทุนภาคเอกชน เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.9 คิดเป็นร้อยละ 63.9 ของการลงทุนทั้งหมด
    – การลงทุนในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.6
    – การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ 945,050 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.7
    – มูลค่าการใช้เงินทุนจากต่างประเทศ 17,650 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นอันดับ 4 ในประเทศ เติบโตร้อยละ 20.1
  4. การค้าต่างประเทศ
    – มูลค่าการนำเข้าและส่งออก 2,200,940 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.5 แบ่งเป็น มูลค่าการส่งออก 1,305,480 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.3 และมูลค่าการนำเข้า 895,460 ล้านหยวน ลดลงร้อยละ 4.1
    – มูลค่าการนำเข้าและส่งออกระหว่างประเทศตามแถบนโยบาย BRI 660,820 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.1 แบ่งเป็น มูลค่าการส่งออก 388350 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.2 มูลค่าการนำเข้า 242470 ล้านหยวน ลดลงร้อยละ 1.6
    – มูลค่าการค้าระหว่างมณฑลซานตงกับประเทศไทย 50,280 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันกับปีที่ผ่านมา แบ่งเป็น มูลค่าการส่งออก 25,960 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.1 มูลค่าการนำเข้า 24,330 ล้านหยวน ลดลงร้อยละ 13.6
  5. การเงินและการธนาคาร
    – รายได้ของรัฐบาล (General budget revenue) 655,990 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกัน
    ของปีที่ผ่านมา โดยรายได้จากภาษีลดลงร้อยละ 1.9
    – การระดมทุนทางสังคม (Social financing) 2,010,800 ล้านหยวน คิดเป็น 1.5 เท่าของปีที่ผ่านมา
    – ยอดเงินกู้สกุลเงินหยวนและเงินต่างประเทศของสถาบันการเงิน 9,788,060 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.4
  6. การบริโภค
    – ดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer Price Index: CPI) เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 เนื่องจากผลกระทบจากราคาเนื้อสัตว์ที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงที่โควิด-19 เริ่มแพร่ระบาด
    – มูลค่าการค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภค 2,924,800 ล้านหยวน ยอดขายสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าอัจฉริยะและอุปกรณ์บันทึกเสียงและวิดีโอ เพิ่มขึ้น 1.6 เท่า รถยนต์พลังงานใหม่ เพิ่มขึ้น 49.1 เท่า เครื่องใช้ในครัวเรือนที่มีดัชนีวัดประสิทธิภาพการใช้พลังงาน (Energy Efficiency Indicator: EEI) ระดับ 1 และระดับ 2 (ระดับ 1 ประหยัดพลังงานตามมาตรฐานสากล ถึงระดับ 5 ประหยัดพลังงานตามมาตรฐานสินค้าที่เข้าสู่ตลาด) เพิ่มขึ้นร้อยละ 80.8
    – รายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคเฉลี่ยต่อคนของประชากร 20,940 หยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.53
  7. การพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของประชากร
    – รายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากร 32,886 หยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยมีรายได้เฉลี่ยต่อคนของประชากรในเขตเมือง 43726 หยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 รายได้เฉลี่ยต่อคนของประชากรในเขตชนบท 18,753 หยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5
    – อัตราการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นใหม่ในเขตเมือง 1,227,000 คน มีอัตราการขึ้นทะเบียนคนว่างงานในเขตเมืองร้อยละ 3.1 ลดลงร้อยละ 0.19 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
    – ผู้ที่อยู่อาศัยในมณฑลซานตงเข้าร่วมโครงการประกันชราภาพ 45,904,000 คน และเข้าร่วมโครงการประกันสุขภาพ 73,745,000 คน

แหล่งที่มา
http://tjj.shandong.gov.cn/art/2021/2/28/art_6196_10285382.html