ส่องจุดเน้นสำคัญในการพัฒนาการเกษตรดิจิทัลของมณฑลซานตง

ส่องจุดเน้นสำคัญในการพัฒนาการเกษตรดิจิทัลของมณฑลซานตง

วันที่นำเข้าข้อมูล 13 มี.ค. 2567

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 13 มี.ค. 2567

| 2,968 view

หัวข้อข่าว_(14)

การเกษตรดิจิทัล” ประเด็นที่ทั่วโลกให้ความสนใจ รวมถึงมณฑลซานตงที่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาได้ทำงานอย่างหนักในการพัฒนาการเกษตรดิจิทัล โดยโครงสร้างพื้นฐาน เช่น แพลตฟอร์มดิจิทัล มีความสมบูรณ์แบบมากขึ้น เทคโนโลยีดิจิทัลได้เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในกระบวนการผลิตและการจัดการเกษตร รูปแบบอุตสาหกรรมใหม่กำลังเกิดขึ้นและพัฒนาอย่างรวดเร็ว มณฑลซานตงมีการจัดตั้งฐานการประยุกต์ใช้การเกษตรอัจฉริยะมากกว่า 730 แห่ง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ได้กลายมาเป็นแรงผลักดันใน
การพัฒนาการเกษตรอัจฉริยะของมณฑลซานตง

มณฑลซานตง มี 4 จุดเน้นที่ใช้ในการส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงสำหรับการเกษตรดิจิทัล ดังนี้

- การยกระดับระบบดิจิทัลของการผลิตทางการเกษตร โดยโฟกัสที่การพัฒนาการผลิตทางการเกษตร 1+4  คือ การปรับผลผลิตของธัญพืชและพืชน้ำมันที่สำคัญ ใช้ประโยชน์จากศักยภาพดิจิทัลอย่างเต็มที่ใน 4 ด้าน ได้แก่ การเกษตรภายใต้การควบคุมสิ่งแวดล้อม (Controlled Environment Agriculture) การเลี้ยงสัตว์ การประมงทางทะเล และการใช้ที่ดินที่ดินเค็มและเป็นด่าง เร่งส่งเสริมและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและอุปกรณ์ใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มผลผลิตและประสิทธิภาพทางการเกษตร

-  การยกระดับความเป็นดิจิทัลของห่วงโซ่อุตสาหกรรมการเกษตรแบบครบวงจร เน้นการพัฒนาทางดิจิทัลของห่วงโซ่อุตสาหกรรมสินค้าเกษตรแบบครบวงจร ได้แก่ การแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร การควบคุมคุณภาพและการตรวจสอบย้อนกลับ โลจิสติกส์คลังสินค้า การตลาดและห่วงโซ่อุตสาหกรรมอื่น ๆ รวมถึงเร่งกระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล และการเชื่อมโยงทางดิจิทัลของห่วงโซ่อุตสาหกรรมให้มีประสิทธิภาพ

- การปรับปรุงรากฐานของการเกษตรเพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่การเกษตรดิจิทัล มุ่งเน้นไปที่การสร้างโครงสร้างพื้นฐานและการปรับปรุงความรู้ด้านดิจิทัล การแก้ไขข้อบกพร่องและจุดอ่อน การแก้ไขนโยบายให้มีประสิทธิผล ให้การสนับสนุนขั้นพื้นฐานสำหรับการพัฒนาการเกษตรดิจิทัล รวมถึงสร้างแพลตฟอร์มการจัดการเกษตรดิจิทัลแบบครบวงจรระดับมณฑลและชนบท (Digital Villages Brain) เพื่อแบ่งปันข้อมูลการเกษตรและความร่วมมือทางธุรกิจทั่วทั้งมณฑล ดำเนินการตามแผนการบ่มเพาะเกษตรกรดิจิทัลยุคใหม่ โดยมุ่งเน้นไปที่องค์กรธุรกิจการเกษตรใหม่และช่างเทคนิคการเกษตรระดับรากหญ้า ดำเนินการพัฒนาทักษะและความรู้ดิจิทัลอย่างครอบคลุม และเร่งการเติมเต็มผู้มีความสามารถด้านการเกษตรดิจิทัล รวมถึงแก้ไขข้อบกพร่องในการส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลการเกษตร

- การสาธิตการนำร่องเกษตรดิจิทัล โดยใช้พื้นที่ที่มีข้อได้เปรียบสำหรับการเกษตรดิจิทัลเป็นการสาธิตนำร่องเพื่อเป็นแนวทางในการจัดกลุ่มรวบรวมองค์ประกอบ เช่น สวนอุตสาหกรรมเกษตรสมัยใหม่ กลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้เปรียบและมีลักษณะเฉพาะ และเมืองอุตสาหกรรมการเกษตรที่แข็งแกร่ง สร้างพื้นที่สาธิตต้นแบบและพื้นที่นำของการเปลี่ยนแปลงการเกษตรแบบดั้งเดิมไปสู่การเกษตรดิจิทัลอย่างครอบคลุม โดยใช้การสาธิตแบบจุดต่อจุดเพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงการเกษตรแบบดั้งเดิมสู่การเกษตรดิจิทัลอย่างครอบคลุมและความชาญฉลาด


ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน
สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองชิงต่าว

ที่มา:
https://www.163.com/dy/article/IS3UO38805346936.html