วันที่นำเข้าข้อมูล 9 มี.ค. 2566
วันที่ปรับปรุงข้อมูล 10 มี.ค. 2566
เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2566 นางสาวนภัสพร ภัทรีชวาล กงสุลใหญ่ ณ เมืองชิงต่าว ได้รับเกียรติจากวิทยาลัยนานาชาตินวัตกรรมดิจิทัล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เชิญเข้าร่วมเป็นสักขีพยานและกล่าวสุนทรพจน์ในพิธีเปิดโครงการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการในกลุ่มประเทศสมาชิกกรอบความร่วมมือล้านช้าง-แม่โขง (LMC หรือที่ไทยเรียกว่า แม่โขง-ล้านช้าง MLC) เพื่อรองรับการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจนวัตกรรม หมายเลข 1 ปีงบประมาณ 2566 ณ โรงแรมเชียงใหม่แกรนด์วิว จ.เชียงใหม่
โครงการดังกล่าวนี้ จัดโดยวิทยาลัยนานาชาตินวัตกรรมดิจิทัล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งมีแขกรับเชิญกิตติมศักดิ์เข้าร่วมเปิดตัวโครงการ อาทิ ดร.กิติพงค์ พร้อมวงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) รศ. ดร. โชติชัย เจริญงาม ประธานกรรมการสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง นายอู๋ จื้ออู๋ กงสุลใหญ่สาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำเชียงใหม่ นาง Chandon Phanouvong กงสุลเศรษฐกิจและการค้า สถานเอกอัครรัฐทูต สปป. ลาว ประจำประเทศไทย นายวีรพงศ์ ฤทธิ์รอด รองผู้ว่าราชการ จ.เชียงใหม่ เป็นต้น
ในโอกาสนี้ กงสุลใหญ่ฯ ได้กล่าวแสดงความยินดีกับวิทยาลัยนานาชาติฯ ในช่วง 4-5 ปี ที่ผ่านมา วิทยาลัยฯ และสถานกงสุลใหญ่ฯ ได้ร่วมมือจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับด้าน E-Commerce การจัดเทศกาลไทย อีกทั้ง สถานกงสุลใหญ่ฯ ได้ช่วยผลักดันให้เกิดการลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมมือระหว่างหอการค้า จ.เชียงใหม่ และสภาส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศเมืองชิงต่าว/เมืองเต๋อโจว และบันทึกข้อตกลงร่วมมือทางด้านการศึกษาระหว่างมหาวิทยาลัยเชียงใหม่-มหาวิทยาลัยชิงต่าว ภายใต้ความสัมพันธ์บ้านพี่เมืองน้องระหว่าง จ.เชียงใหม่ กับเมืองชิงต่าว อีกทั้ง ได้กล่าวแนะนำศักยภาพของมณฑลซานตง และเมืองชิงต่าว ที่เป็นเมืองขนาดใหญ่ มีความศักยภาพสูง มีสามารถในด้าน Cross border E-commerce ระหว่างกลุ่มประเทศสมาชิก RCEP โดยปัจจุบัน มณฑลซานตงมีการเดินเส้นทางรถไฟขนส่งสินค้า Qilu Eurasian จากเมืองหลินอี๋ มณฑลซานตง - ฮานอย เวียดนาม และเส้นทาง Qilu China-Laos จากชิงต่าว-เวียงจันทน์ ลาว เป็นการส่งเสริมและเพิ่มช่องทางการแลกเปลี่ยนทางการค้าระหว่างประเทศกรอบความร่วมมือล้านช้าง-แม่โขง (CLMVT) ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ กงสุลใหญ่ฯ ได้บอกเล่าประสบการณ์ของผู้ที่ประสบความสำเร็จในธุรกิจในเมืองชิงต่าว โดยใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมดิจิทัล
โครงการดังกล่าวนี้ เป็นพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจนวัตกรรมหมายเลข 1 (Route No. 1 Innovation Economic Corridor) ซึ่งครอบคลุมกลุ่มประเทศสมาชิกกรอบความร่วมมือล้านช้าง-แม่โขง ได้แก่ ไทย ลาว เมียนมา กัมพูชา และจีน (ยูนนาน กุ้ยโจว เสฉวน ฉงชิ่ง ซีอาน และชิงต่าว)
ทั้งนี้ ในงานดังกล่าว มีการจัดพิธีลงนามความร่วมมือทางวิชาการระหว่างวิทยาลัยนานาชาตินวัตกรรมดิจิทัล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กับหอการค้าและมหาวิทยาลัยพันธมิตรในกลุ่มความร่วมมือในระดับอนุภูมิภาคของกลุ่มประเทศ CLMVT
หลังเสร็จสิ้นพิธี กงสุลใหญ่ฯ ได้เข้าร่วมรับฟังบรรยายหัวข้อ Cross Boarder E-Commerce to Chinese Market โดยนักศึกษาปริญญาเอกของวิทยาลัยฯ ที่ประสบความ6สำเร็จในด้าน Cross Boarder E-Commerce และเยี่ยมชมบูธแสดงสินค้า SMEs ที่ผู้ประกอบการท้องถิ่นนำมาจัดแสดง
จากนั้น ในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2566 กงสุลใหญ่ฯ ได้เข้าร่วมแบ่งปันประสบการณ์ที่ตนพบเห็นกับทางวิทยาลัยฯ ผู้ประกอบการข้ามพรมแดนของไทย และหอการค้าต่างประเทศ ในกรอบ MLC ในหัวข้อ “การเชื่อมโยงระหว่างภาครัฐไทยและชุมชนนักธุรกิจ” เพื่อหารือถึงแนวทางการดำเนินการค้าข้ามพรมแดน รวมถึง ความเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวในพื้นที่ต่อไป
กงสุลใหญ่ฯ กล่าวสุนทรพจน์แสดงความยินดีในพิธีเปิดโครงการฯ
บรรยากาศภายในพิธีเปิดโครงการฯ
กงสุลใหญ่ฯ และนายอู๋ จื้ออู๋ กงสุลใหญ่สาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำเชียงใหม่
กงสุลใหญ่ฯ และนาย Shen Sunan ประธาน ASEAN Innovation and Development Promotion Association
กงสุลใหญ่ฯ เยี่ยมชมบูธผู้ประกอบการ SMEs ท้องถิ่นที่นำสินค้ามาจัดแสดง
กงสุลใหญ่ฯ ร่วมให้ความคิดเห็นจากประสบการณ์ส่วนตัวกับทางวิทยาลัยฯ ผู้ประกอบการข้ามพรมแดนของไทย และหอการค้าต่างประเทศในกรอบ MLC
รูปภาพประกอบ
Working hours: Monday - Friday 09.00 - 12.00 and 13.00 - 17.00
WeChat Official Account: RTCG-Qingdao